How to select consultant?

Last updated: 31 พ.ค. 2559  |  1661 จำนวนผู้เข้าชม  | 

How to select consultant?

ที่ปรึกษาคือใคร ทำไมเราต้องจ้างที่ปรึกษา

            ธุรกิจปัจจุบันนี้ เป็นธุรกิจที่ต้องแข่งขันกับเวลา ผู้ประกอบการต่างมุ่งให้ความสนใจกับธุรกิจหลักของตนเองเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ไม่มีเวลาที่จะมาดูแลระบบการจัดการ ดังนั้นการแก้ไขข้อบกพร่องในระบบการจัดการต่างๆ ก็มักจะขาดคนดูแล ยิ่งต้องมาจัดทำระบบอีก แทบจะไม่มีเวลา การเจียดกำลังคนจากงานประจำเพื่อมาจัดการกับระบบ บางครั้งผู้บริหารก็มองว่าเป็นการสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ ดังนั้นกรณีที่ผู้บริหารตัดสินใจจัดทำระบบ จึงต้องจ้างที่ปรึกษาเข้ามาดูแล

แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจ “ที่ปรึกษา” ก็คือที่ปรึกษาที่ให้คำปรึกษาเท่านั้น อาจจะไม่มีเวลามาช่วยทำงานทั้งหมด แต่อาจจะแบ่งเบาได้ระดับหนึ่งโดยวิธีทำงานที่ ที่ปรึกษาออกแบบ ยังไงก็ต้องมีทีมงานขององค์กรลงมาดูแล แต่ข้อดีก็คือมีผู้ดูแลและควบคุมโครงการให้เป็นไปตามเวลา เป้าหมายที่ผู้บริหารต้องการ

การจ้างที่ปรึกษา จะช่วยลดเวลา สร้างการเรียนรู้ ลดภาระงานของ และลดการขัดแย้งในทีมงาน อีกอย่างหนึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับองค์กร ว่าจะสามารถผ่านการรับรองมาตณฐานได้อย่างไม่มีปัญหา

เราต้องเข้าใจองค์กร เราก่อนที่จะจ้างที่ปรึกษา

ก่อนที่องค์กรจะจ้างที่ปรึกษา ก็ต้องลองคิดดูก่อนว่า จำเป็นไหมที่เราต้องจ้างที่ปรึกษา จ้างแล้วจะได้ประโยชน์มากน้อยเพียงใด โดยให้มองประเด็นดังต่อไปนี้

   - ต้องพิจารณาประเด็นว่าพนักงานเรามีทักษะเรื่องนี้เพียงพอหรือยัง แม่นยำขนาดไหน

   - ต้องพิจารณาว่าภาระงานของพนักงานของเรา มีเพียงพอที่จะมารองรับการจัดทำระบบได้หรือไม่

   - พิจารณาว่าเวลาเป็นปัจจัย ของการทำโครงการหรือไม่ ที่ไม่ต้องการให้ยืดเยื้อ จนค่าใช้จ่ายแฝงเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว

   -  พิจาณาว่าระบบการจัดการของเรา เสี่ยงและซับซ้อนเกินไป ที่จะจัดทำระบบด้วยตนเองหรือไม่
   -  พิจารณาของการทำงานในทีมงาน และการตัดสินใจว่าสามารถดำเนินโครงการจัดทำระบบได้อย่างไม่มีข้อขัดแย้งหรือไม่

   -  พิจารณากระบวนการว่ามีปัญหาเกี่ยวข้องกับกฏหมายหรือไม่

หากเราพิจาณาเงื่อนไขทุกข้อที่กล่าวมาแล้ว ถ้ามีมากกว่า 3 ข้อขึ้นไปที่ยังไม่สามารถตอบคำถามและให้ความน่นอนได้ ควรที่พิจารณาเลือใช้ที่ปรึกษาเพื่อแบ่งเบาภาระได้

จ้างที่ปรึกษาแล้วเขาจะมาช่วยอะไรเรา?

          ที่ปรึกษาที่ดี จะไม่ยึดติดกับวิธีเดิมๆ ในการทำงาน เพราะหากเป็นต่างองค์กร์กร ก็ย่อมจะมีวิธีการที่ต่างกัน วัฒนธรรมที่ต่างกัน ดังนั้นจะยึด pattern เดิมๆไม่ได้ ที่ปรึกษาที่ดีควรพิจารณาการ minimize ทรัพยากรขององค์กรในหลายๆด้าน ทั้งเวลา ต้นทุนค่าใช้จ่าย และระบบที่ไม่ยุ่งยากเกินไป หาวิธีการทำงานที่ match กับลักษณะงานประจำ ทำให้รู้สึกว่างานประจำไม่ถูก interrupt และมีความสบายใจในการจัดทำระบบ เพราะฉะนั้นที่ปรึกษาที่ดี ควรจะไปสัมผัสองค์กรก่อนค่อยออกแบบวธีการทำงาน และกำหนดเวลาได้ แผนงานที่เสนอไปตอนเสนอราคาเป็นทฤษฎีทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าคุณจะรู้เข้าใจองค์กรจริงๆ ที่ปรึกษาที่ดีควรรับฟังความคิดเห็นของลูกค้าและหาทางแก้ปัญหามากกว่าการวางเงื่อนไข

คุณสมบัติ ที่ดี และมีประโยชน์

          ที่ปรึกษาปัจจุบัน มีมากมายทั้งที่รู้จากทฤษฎี การลองผิด แต่ไม่ได้ลองถูก รู้จากปฏฺบัติจริงในหลายๆด้าน เช่นเป็นผู้ใช้ ผู้จัดทำระบบ ผู้ดูแลระบบ (QMR/EMR), Internal auditor และจนถึงกระทั่งผู้ที่ผ่านงานการตรวจประเมินจาก CB: Certify Body ต่างๆ ซึ่งแต่ละคนความรู้ความเข้าใจก็จะต่างกันขึ้นอยู่กับชั่วโมงบิน

แน่นอนครับสำหรับการตัดสินใจเลือกที่ดีที่สุดก็คือ ชั่วโมงบิน (การทำงานที่ปรึกษา และตรวจประเมิน) คงเป็นปัจจัยที่ตอบได้ค่อนข้างชัดถึงคุณภาพการให้คำที่ปรึกษา และองค์ความรู้เชิงปฎิบัติ โดยฌพาะผู้ที่ผ่านการเป็นผู้ตรวจประเมินจาก CB; Certify Body ย่อมจะเห็นตัวอย่างที่ดี และที่ไม่ดีมาเยอะพอสมควร จะทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการให้คำปรึกษา และมีประโยชน์กับองค์กรมากกว่า

ทัศนคติ และมุมมองก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคัดเลือก

            เราต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า ระบบการจัดการ มันเป็นศิลปะ ที่ออกแบบไว้ให้ match กับคน กับวัฒนธรรมองค์กร ไม่มีสูตรตายตัว การมององค์กรอย่างเป็นสิ่งมีชีวิต มองอย่างเข้าใจ ไม่มองเชิงหุ่นยนต์หรือวิชาการเกินไป การให้คำปรึกษามักจะไปได้อย่างราบรื่น ที่ปรึกษาต้องสมารถอธิบายขอกำหนดมาตรฐานได้อย่างเป็นภาษานักการจัดการ ไม่ใช่ภาษาวิชาการที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจยาก เพราะต้องเข้าใจว่าปรกติงานประจำมันก็มีความยากอยู่แล้ว

อีกเรื่องหนึ่งคือ ที่ปรึกษาควรจะเป็นผู้ที่ มองเห็นและเข้าใจในธุรกิจที่หลากหลาย มีความรู้รอบด้าน แต่อาจจะไม่ถึงเฉพาะเจาะจง มีทัศนคติที่ดีต่อการจัดการคน เข้าใจความเป็นมนุษย์ จะทำให้องค์กรได้ value จากการให้คำปรึกษามากกว่าคำว่า “มาตรฐาน” (Standard).

 สรุปเกณฑ์ในการคัดเลือกที่ปรึกษา

·   ประสบการณ์การทำงาน (งานประจำ และงานที่ปรึกษา) (1)
·   ประสบการณ์การตรวจประเมินจาก CB: Certify Body (2)
·   ประสบการณ์ด้านการจัดการ จัดทำระบบ (3)

ที่จะสามารถสร้างความเชื่อมันให้กับผู้ประกอบการได้

ผู้เขียน อุเทน เข้มขัน  กรรมการผู้จัดการ
โทรศัพท์ 081-6893090, uthen@qmlcorp.com

www.qmlcorp.com

                                                                                                                                                

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

(MOBILE TECHNOLOGY

5 ก.ย. 2561

GooGreen START UP

16 ก.ย. 2561

Call to Action

16 ก.ย. 2561

Powered by MakeWebEasy.com