ไทยเร่งฝีเท้าเดินเครื่องเข้า 4.0

Last updated: 7 ม.ค. 2560  |  2546 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ไทยเร่งฝีเท้าเดินเครื่องเข้า 4.0

ไทยเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ 3.0 มา 30 ปี รัฐเร่งเดินหน้าประเทศไทยเข้า 4.0 ด้วย เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล
ประเทศไทย 3.0
เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Digital Economy) กับการนำประเทศไทยสู่ยุค 4.0 กลายเป็นหนึ่งวาระแห่งชาติ (Nation Agenda) ที่สำคัญอย่างมาก ซึ่งทางรัฐบาลได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง และประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงอย่างมาเลเซียก็ได้เริ่มไปแล้วเมื่อปี 2012 รวมถึงในประเทศซีกโลกตะวันตก

ย้อนกลับไปในช่วงยุค 1.0 ประเทศไทยดั่งเดิมเติบโตมาจากภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก สามารถผลิตสินค้าเกษตรได้มากที่สุด เป็นสินค้าต้นน้ำที่ยังไม่ผ่านการแปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้า จนนำไปสู่ ประเทศไทย 2.0 ที่เน้นเกษตรและอุตสาหกรรมเบา เริ่มนำสินค้าต้นน้ำมาแปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้า และเข้าสู่ประเทศไทย 3.0 ที่เน้นการดึงนักลงทุนต่างชาติ และอุตสาหกรรมหนัก เพื่อการส่งออก ทั้งรถยนต์ และก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น

สำหรับในช่วง 3.0 เป็นช่วงที่ประเทศไทยขึ้นสู่จุดสูงสุดเป็นประเทศที่มีการส่งออกรถยนต์มากที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ของโลก อีกทั้ง GDP ประเทศยังเคยโตมากที่สุดถึง 2 หลัก จนล่วงเลยผ่านมานับ 4 ทศวรรษประเทศไทยกลับยังคงอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา และรายได้ประเทศยังอยู่ในระดับปานกลาง หรือในยุค 3.0 และไม่สามารถก้าวพ้นประเทศกับดักรายได้ปานกลางไปได้ ทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องเปลี่ยนตัวเองให้เข้าสู่ยุค “ประเทศไทย 4.0” เพื่อกลายเป็นประเทศที่หลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางให้ได้

หากมองไปที่ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน 2 ประเทศที่น่าจับตามองอย่างมากคือ เวียดนาม และกัมพูชา โดยทั้งสองประเทศได้กลายเป็นประเทศกำลังพัฒนาแบบเดียวกับประเทศไทย และทั้ง 2 ประเทศยังอยู่ในช่วง 3.0 ซึ่งประเทศไทยอยู่ในช่วง 3.0 มาร่วม 30 ปี หากยังไม่ก้าวออกมา ประเทศไทยจะจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ที่สำคัญอาจโดนประเทศเวียดนามแซงได้ในอนาคตอันใกล้หากไทยยังคงอยู่ที่เดิม เพราะประเทศเวียดนามได้วางแผนนโยบายเศรษฐกิจแห่งชาติโดยตั้งเป้าจะพ้นจากประเทศกับดักรายได้ปานกลายในปี 2020

ประเทศไทย 4.0

สิ่งที่จะผลักดันให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ 4.0 ได้นั้นคือการเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Digital Economy) และจำเป็นต้องทำได้อย่างสมบูรณ์แบบ หมายความว่า การแข่งขันของตลาดจะก้าวเข้าสู่พื้นที่ (Platform) ในโลกดิจิทัลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)

เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Digital Economy) ในความหมายของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ชื่อเดิม คือกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) หมายถึงเป็นการสร้างชุมชน (Community) ขึ้นมาขับเคลื่อนกลไกสำคัญในการปฏิรูปการผลิต การดำเนินธุรกิจ การค้า การบริการ การศึกษา ท่องเที่ยว สาธารณสุข การบริหารข้าราชการแผ่นดิน กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมอื่น ๆ ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนำตนเองออกจากกลุ่ม 3.0 ไปสู่ Thailand 4.0 ซึ่งในยุค 4.0 นอกจากการเข้าสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Digital Economy) แล้วประชาชนจะต้องนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ 3 ส่วนสำหรับโครงสร้างธุรกิจ (Business Model)

1. นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)

2. นวัตกรรมด้านกระบวนการ (Process Innovation)

3. นวัตกรรมด้านธุรกิจ (Business Innovation)

ประเทศไทย 4.0 จึงมีความเกี่ยวพันธ์กับ Business Model เพื่อนำ Innovation เข้ามาร่วมกับทุกขั้นตอนในการทำธุรกิจ 4.0 จึงต้องเปลี่ยนจากการเกษตรแบบเดิมไปสู่ Smart Farming มีการนำ Innovation เข้ามาให้กับรูปแบบธุรกิจเชิงเกษตร ให้กลายเป็นผู้ประกอบการ Entrepreneur เช่นเดียวกันกับ SME จากเดิมที่ต้องพึ่งพารัฐ ต้องเปลี่ยนเป็น Smart Entrepreneur และ Startup ส่วนบริษัทที่มีศักยภาพต้องเปลี่ยนจาก Traditional Services เป็น High Value Services รวมถึงกลุ่มแรงงานต้องมีทักษะ มีความรู้สูง และมีความเชี่ยวชาญ

ที่มา : http://www.bangkokbanksme.com/

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

GooGreen START UP

16 ก.ย. 2561

(MOBILE TECHNOLOGY

5 ก.ย. 2561

Call to Action

16 ก.ย. 2561

Powered by MakeWebEasy.com