BOK: Body of Knowledge คืออะไร

Last updated: 21 มิ.ย. 2559  |  7414 จำนวนผู้เข้าชม  | 

BOK: Body of Knowledge คืออะไร

BOK: Body of Knowledge คืออะไร

BOK: Body of Knowledge หมายถึงความรู้ที่เป็นจริง ที่เป็น ความคิดรวบยอด หลักการ วิธีการ วิธีปฏิบัติ ที่ถูกบันทึก สั่งสมกันมาเพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้

BOK: Body of Knowledge เป็นโครงสร้างความรู้ ที่อยู่ภายในตัวบุคคล ที่เกิดจากการเรียนรู้ องค์ความรู้ เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการถ่ายทอดจากประสบการณ์ หรือ จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล โดยความรู้เกิดขึ้นนั้นผู้รับสามารถนำไปใช้ได้โดยตรง หรือสามารถนำมาปรับใช้ได้ เพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์หรืองานที่กระทำอยู่เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยความรู้ที่เกิดขึ้นนั้นผู้รับสามารถนำไปใช้ในลักษณะต่าง ๆ ได้

 
สังคมของนักวิชาการ technocrat และสังคมของ BOK

การเรียนรู้ ของคนแต่ละคนก็จะมีวิธีการไม่เหมือนกัน บางคนเริ่มจากตำรา และทฤษฎี บางคนเริ่มจากปัญหา บางคนก็เริ่มจากการทดลอง ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือการเรียนรู้ แต่การเรียนรู้เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าวัฒนธรรมก็มีส่วนสนับสนุน หรือเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้เช่นกัน สังคมบางสังคมเรียนรู้จากความเชื่อ และบางสังคมก็เรียนรู้กันด้วยการหักล้างทางเหตุผล

สังคมของนักวิชาการ (technocrat) เป็นสังคมที่มีพื้นฐานความเชื่อและเข้าใจ มาจากทฤษฏีเป็นพื้นฐาน และทำการต่อยอดความมรู้โดยการทำการวิจัย (research) การวิจัยจึงเป็นงานหลักของนักวิชาการ เงินทุนในการพัฒนาประเทศส่วนหนึ่งก็ถูกลงทุนไปในการวิจัย (research investment) หากแต่ว่าการลงทุนเหล่านี้จะมีผลตอบแทนกลับ (return) มาในรูปแบบไหนบ้าง เป็นประโยชน์ต่อประเทศหรือไม่ ก็ต้องมีการประเมินผลตอบกลับของการลงทุนด้วย

สังคมของนักวิชาการไทย (Thai technocrat) จะมุ่งการทำวิจัยเพื่อต่อยอดของทฤษฏีเป็นหลัก ส่วนใหญ่ที่เรามักจะรู้กันว่า ผลการวิจัยของนักวิชาการไทยส่วนใหญ่จะถูกเก็บเข้าห้องสมุด เพื่อต่อยอดฐานของทฤษฏีและความรู้ไปเรื่อยๆ ทำให้ผลตอบแทนการลงทุนทางวิจัยของประเทศไทย ค่อนข้างต่ำมากเมื่อเทียบกับชาติอื่นๆ ในโลก

สังคมของ BOK: Body of Knowledge เป็นสังคมที่หลากหลาย เพราะ BOK เกิดจากการทำงาน การปฏิบัติของแต่ละวิชาชีพ ที่ต่างกันแต่ละวิชาชีพ จึงทำให้องค์ความรู้ที่สั่งสม ต่อยอดกันมาไม่เหมือนกัน มีความเฉพาะด้านไปแต่ละสาขาสามารถหาดูได้จาก Website ต่างเช่น

·   ความรู้ด้านการวิเคราะห์ทางธุรกิจ (Business Analysis BOK: BABOK)

แหล่งความรู้หลัก from the International Institute of Business Analysis (IIBA)

·   ความรู้ด้านวิศวะโยธา (Civil Engineer BOK)

·   ความรู้ทั่วไป (Common BOK)

แหล่งความรู้หลัก for international information security professionals

·   ความรู้ด้าน IT ของ Canadian (Canadian IT BOK: CITBOK)

แหล่งความรู้หลัก for Canadian Information Processing Society

·   ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมการออกแบบด้านเทคโนโลยีสาระสนเทศ (The Information Technology Architecture BOK: ITABOK)

แหล่งความรู้หลัก free public archive of IT architecture best practices, skills, and knowledge

·   ความรู้ด้านการบริหารโครงการ (Project Management BOK: PMBOK)

แหล่งความรู้หลัก from the Project Management Institute (PMI)

·   ความรู้ด้านวิศวกรรมระบบ (System Engineering BOK: SEBOK)

·   ความรู้ด้านวิศวกรรมซอฟแวร์ (Software Engineering BOK: SWEBOK)

·   ความรู้ด้านการบริหารจัดการข้อมูล (Data Management BOK)

แหล่งความรู้หลัก DAMA International Guide to Data Management Body of Knowledge

·   ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ภูมิศาสตร์สาระสนเทศ และเทคโนโลยี (Geographic Information Science and Technology BoK)

 

BOK เอาความรู้มาจากไหน

BOK: Body Of Knowledge เป็นสังคมแห่งการสั่งสม และการทดสอบว่าความรู้นี้ใช้ได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ การสะสมและสั่งสมของความรู้ของ BOK ได้มาจากหลายๆวิธีการดังนี้

·   สะสมจากความรู้ที่ได้จากการถ่ายทอดมาจากบุคคลอื่น (Knowledge transfer)

·   สะสมจากประสบการณ์การทำงาน (Experience knowledge)

·   สะสมจากการวิจัยพัฒนา (Research and develop knowledge)

·   สะสมจากการประดิษฐ์ (Inventory knowledge)

·   สะสมจากภายนอกทั่วไป (External knowledge)




 
การเติบโตของสังคม technocrat เชื่อมโยงหรือแต่งต่างกันอย่างไรกับสังคมของ BOK

ทั้ง BOK และ technocrat ต่างเป็นสังคมที่สร้างความรู้ การก่อเกิดของความรู้ และการสั่งสมของความรู้นั้นอาจจะค่างกันในเชิง หลักการและความเชื่อ แต่ทั้งสองก็มีจุดเชื่อมโยงในการพัฒนาการต่อยอดความรู้ที่คล้ายกันอย่างหนึ่งคือ การวิจัย (Research) ที่ทั้ง BOK และ technocrat มีวิธีการพัฒนาต่อยอดที่คล้ายกัน


ความแตกต่างกันของ technocrat กับ BOK ต่างกันที่จุดเริ่มต้นของความรู้

จุดเริ่มและตั้งต้นของความรู้ knowledge ของ technocrat เริ่มมาจากแนวคิดปรัชญา (Philosophy) และการทดลอง (Research) ก่อนที่จะจัดทำเป็นทฤษฏี (Theory) การต่อยอดของความรู้ของ technocrat จึงเป็นการเริ่มจาก ทฤษฎี สะสมและอ้างอิงกันขึ้นมาเป็นลำดับ

ส่วนจุดเริ่มต้นของ BOK: Body Of Knowledge เป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดการแก้ปัญหา ซึ่งอาจใช้หลักปรัชญาหรือไม่ก็ตาม แต่เป็นจุดที่เป็นจริง (ontology)  ที่ปฏิบัติ (Practice) พิสูจน์ได้ (Research) ทำให้เกิดความหลากหลาย การพัฒนาความรู้ของ BOK อาจจะใช้ Theory เป็นกรอบ (Frame work) แต่การพัฒนาองค์ความรู้ก็จะมีทิศทางของมันเช่น ความรู้ด้านการจัดการ ที่จะพัฒนาไปตามการเปลี่ยนแปลงของโลกภายใต้กรอบสมมุติฐานเดิม

ส่วนหนึ่งที่ทั้งสองเหมือนกันคือ การใช้ตำรา (Text book) เป็นสิ่งแสดงออกขององค์ความรู้ที่เป็นรูปธรรม แต่ขณะเดียวกันในเชิงของ ตำรา ก็จะมีความต่างกันในเชิงของการนำไปใช้ (practice) เพราะในส่วนของ BOK ตำราจะไม่ใช่ความรู้เชิงถาวร แต่จะเป็นความรู้ที่ต้องทดสอบ ทดลองปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการยอมรับว่าใช้ได้จริง (Validity) ตำรานั้นก็จะเป็นที่นิยมในสังคมของ BOK ซึ่งสังคมของ BOK เองก็จะให้เกียรติ ผู้สะสมและอธิบายองค์ความรู้ ที่สามารถใช้ได้จริง ที่เรามักจะเรียกกันเสมอว่า “กูรู” (GURU)

 

ที่มาของคำว่า กูรู (GURU)

GURU หรือ กูรู เป็นภาษาสันสกฤต ที่แปลว่า ครู (Teacher) ในสังคมของ BOK ที่มีความหลากหลาย เราจึงจำเป็นต้องยกตัวอย่างของความรู้แต่ละด้านขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น ความรู้เชิงการจัดการ (Management knowledge) จะมีการจัดลำดับของ GURU ด้านการจัดการทางหลาย Website ด้วยกันโดยวัดจากสิ่งพิมพ์ และตำรา ที่แสดงออกถึงองค์ความรู้

ยกตัวอย่าง Management GURU ณ. เวลาปัจจุบัน (25/5/2016) Website ของ http://www.globalgurus.org/management/managementgurus30.php ได้จัดลำดับของ Management GURU ไว้ 30 อันดับต้นของโลกมีดังนี้

Dr. John P. Kotter เป็นศาสตราจารย์ใน Harvard Business School มามากกว่า 30 ปี ผลิตตำรามา

                            มากกว่า 18 เล่ม

James Collins III เป็น Management consultant ที่ผลิตตำรา หนังสืออกมามากมาย

Nassim Nicholas Taleb เป็นนักวิจัย

Joseph Stiglitz เป็นอดีตผู้บริหารของ World Bank และศาสตราจารย์ ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย

Daniel Goleman เป็นอาจารย์สอนและนักวิจัย

Daniel Pink เป็นนักเขียนหนังสือด้านการจัดการ

Clayton Christensen เป็นศาสตราจารย์ นักเขียน ที่ปรึกษาสังกัด BCG

Dr. Philip Kotler เป็นศาสตราจารย์สอนที่มหาวิทยาลัย Kellogg

Chris Anderson เป็นนักธุรกิจและนักเขียน

Niall Campbell Douglas Ferguson เป็นอาจารย์สอนและนักวิจัย

Ram Charan เป็นนักเขียน นักพูดและผู้บริหาร บริษัทชั้นนำ

Gary Hamel เป็นนักคิด นักเขียน และนักทำนายอนาคต

Barbara Kellerman * เป็นผู้หญิงคนแรกที่ติดลำดับกูรู ต้นๆ เธอเป็นนักบรรยาย และผู้บริหาร

                               องค์กรชั้นนำ

Howard Earl Gardner เป็นอาจารย์สอนที่ Harvard Graduate Business School

Roger Martin เป็นผู้บริหารและนักวิจัย

Vijay Govindarajan เป็นผู้บริหาร และศาสตราจารย์นสอนที่ Harvard Business School

Henry Mintzberg เป็นศาสตราจารย์สอนหนังสือด้านการจัดการ

Don Tapscott เป็นศาสตราจารย์สอนหนังสือด้านการจัดการ

Tammy Erickson *เป็นผู้หญิงอีกคนหนึ่ง ที่เป็นนักคิดนักประพันธ์

Rakesh Khurana เป็นศาสตราจารย์สอนหนังสือด้านการจัดการที่ Harvard Business School

Lynda Gratton * เป็นศาสตราจารย์หญิงที่สอนหนังสือด้านการจัดการอยู่ที่ London Business

                         School

Kjell Anders Nordstrom เป็นนักคิดเชิงกลยุทธุ์ นักเขียนและนักพูด

Jonas Ridderstrale เป็นศาสตราจารย์สอนหนังสือด้านการจัดการประเทศสวีเดน

Manfred F.R. Kets de Vries เป็นศาสตราจารย์สอนหนังสือด้านการจัดการที่ Harvard Business

                                                  School

Costas Markides เป็นศาสตราจารย์สอนหนังสือด้านกลยุทธุ์ที่ London Business School

Tom Peters เป็นนักคิด นักพูด นักเขียนและที่ปรึกษา

Gary Bradt เป็นนักคิด นักพูด นักเขียน

Noel M. Tichy เป็นที่ปรึกษาชาวอเมริกัน ด้านการจัดการ

Michael Eugene Porter นักประพันธุ์ นักคิด ที่ได้ตีพิมพฺตำรากว่า 18 เล่มด้วยกัน

Rhenald Kasali เป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยคนเดียวของเอเชีย ที่ติดลำดับต้นกูรูของโลก

 

แหล่งที่มาของข้อมูล: https://en.wikipedia.org/wiki/Body_of_knowledge , http://www.globalgurus.org/management/managementgurus30.php

ผู้เขียน อุเทน เข้มขัน  กรรมการผู้จัดการ

โทรศัพท์ 081-6893090, uthen@qmlcorp.com

www.qmlcorp.com

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

(MOBILE TECHNOLOGY

5 ก.ย. 2561

GooGreen START UP

16 ก.ย. 2561

Call to Action

16 ก.ย. 2561

Powered by MakeWebEasy.com